a

ระบบผลิตน้ำ


ระบบผลิตน้ำ หมายถึง การนำน้ำผิวดินหรือน้ำดิบจากแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ อาทิ แม่น้ำ คลอง ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ และทะเล เข้าสู่กระบวนการผลิตเพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพและปริมาณตามความต้องการ ได้แก่ น้ำประปา น้ำจืด และน้ำบริสุทธิ์ เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม หรือใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้ทะเลหรือพื้นที่ที่ราคาน้ำสูง ซึ่งน้ำที่ผลิตได้แต่ละประเภทจะใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีความซับซ้อนแตกต่างกัน ทั้งนี้ โดยหากพิจารณาการให้บริการระบบผลิตน้ำของบริษัทสามารถแยกตามประเภทผลผลิตน้ำได้ดังนี้


1.1 ระบบผลิตน้ำประปา (Portable Water Plant) เป็นการนำน้ำผิวดินหรือน้ำดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตเพื่อให้ได้น้ำประปา ซึ่งน้ำที่ได้จะนำไปใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมบางประเภทที่ไม่ต้องใช้น้ำที่มีคุณภาพสูง ขั้นตอนการผลิตน้ำประปา สามารถอธิบายได้ดังภาพ


ขั้นตอนการผลิตน้ำประปา
1. สูบน้ำผิวดินหรือน้ำดิบจากแหล่งน้ำธรรมชาติหรือแหล่งน้ำอื่นที่จัดหาหรือจัดเตรียมไว้ ซึ่งน้ำดังกล่าวจะมีความขุ่นและมีสารละลายต่างๆ รวมถึงโลหะหนักเจือปนอยู่
2. ปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบโดยการใส่สารส้มหรือปูนขาวลงไป ในน้ำ เพื่อช่วยให้เกิดการตกตะกอนและปรับค่าความเป็น กรด-ด่างของน้ำดิบ
3. การตกตะกอนโดยน้ำที่ผสมสารส้มหรือปูนขาวแล้วจะไหลเข้าสู่ถังตกตะกอน เพื่อให้ตะกอนที่มีขนาดเล็กรวมตัวกันเป็นตะกอนขนาดใหญ่และตกลงสู่ก้นถังจนได้น้ำที่มีความใสสะอาด
4. กรองเพื่อกำจัดตะกอนหรือสิ่งปนเปื้อนที่มีขนาดเล็กมากอีกครั้ง โดยการกรองด้วยทรายกรอง กรวดกรอง เพื่อให้ได้น้ำที่มีความใสสะอาดอย่างแท้จริง
5. ฆ่าเชื้อโดยการใส่คลอรีนในอัตราส่วนที่พอเหมาะและ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย แล้วนำไปเก็บไว้ในถังน้ำใสเพื่อรอการสูบจ่าย
6. ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำประปาที่ผลิตได้
7. ปล่อยน้ำจากหอถังสูงหรือสูบอัดน้ำเข้าไปในระบบท่อจ่ายน้ำเพื่อเพิ่มแรงดันน้ำ



1.2 ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์หรือระบบผลิตน้ำปราศจากแร่ธาตุ (Demineralization Plant)
เป็นการนำน้ำประปาเข้าสู่กระบวนการผลิตเพื่อกรองสารละลายที่ค้างออก ได้แก่ เกลือแร่ต่างๆ โดยขั้นตอนการผลิต น้ำบริสุทธิ์ต้องอาศัยเทคโนโลยีการผลิตที่ซับซ้อนกว่าการผลิตน้ำประปา คือ การใช้วิธีแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าเพื่อให้ได้น้ำที่มี

ขั้นตอนการผลิตน้ำบริสุทธิ์หรือน้ำปราศจากแร่ธาตุ
1. นำน้ำประปาที่ได้จากกระบวนการผลิตเข้าสู่กระบวนการกรองเกลือแร่ขนาดเล็กที่ยังคงค้างอยู่ในน้ำประปาโดยผ่านระบบการกรองด้วยเมมเบรน เริ่มจากระบบการกรองแบบ MF หรือระบบการกรองแบบ UF ก่อนจะผ่านระบบการกรองแบบ RO จนกระทั่งได้น้ำที่เหลือเพียงโซเดียมไออน (Na+) และคลอไรด์ไอออน (Cl-)
2. นำน้ำที่ผ่านกระบวนการกรองข้างต้นเข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าเพื่อกรองอนุภาคขนาดเล็กดังกล่าว โดยประจุบวกจาก Na+ และประจุลบจาก Cl- จะถูกจับด้วย Resin (polymer ที่ไม่ละลายน้ำและมีสมบัติแลกเปลี่ยนประจุได้) ทำให้ได้น้ำบริสุทธิ์
3. ตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ได้
4. เก็บไว้ในถังน้ำใสเพื่อรอการใช้งาน ทั้งนี้ น้ำบริสุทธิ์ที่ได้เป็นน้ำที่ไม่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจากได้ผ่านขั้นตอนการกรองเกลือแร่ออกจนหมด ดังนั้น ผู้ประกอบการในธุรกิจน้ำดื่มจึงเติมเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์กับร่างกายเข้าไปในระหว่างการผลิต ซึ่งทำให้ได้น้ำที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์กับร่างกายมากขึ้น อาทิ น้ำแร่ ซึ่งช่วยสร้างมูลค่าให้กับน้ำที่ผลิตได้ดังกล่าว